ตรวจสุขภาพ ด้วย CBC (ความสมบูรณ์เม็ดเลือด)

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)

         เป็นการตรวจเลือดที่ใช้วิเคราะห์สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย เมื่อผุู้ป่วยมีอาการต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย เมื่อยล้า หรือรอยช้ำ รวมทั้งตรวจหาปัญหาสุขภาพหรือโรคต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อ หรือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

CBC ตรวจอะไรบ้าง?

การตรวจ CBC จะมีตรวจเกี่ยวประเภทและจำนวนเซลล์ในเลือด ซึ่งจะตรวจส่วนประกอบต่างๆที่อยู่ในเลือด ดังนี้

ตรวจสุขภาพ ด้วย CBC (ความสมบูรณ์เม็ดเลือด)

เซลล์เม็ดเลือดแดง

          ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ รวมทั้งลำเลียงคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปที่ปอดด้วย จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงจะแสดงผลว่าผู้ป่วยประสบภาวะโลหิตจางหรือไม่ รวมทั้งแสดงการสร้างและทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง เช่น ค่าที่เพิ่มขึ้นเกิดจากเลือดที่ไหลเวียนจากหัวใจลดลง การแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอดไม่เพียงพอ หรือมีการสร้างเม็ดเลือดแดงมากขึ้น ส่วนค่าที่ลดลงเกิดจากการขาดวิตามินบี 12 บี 6 หรือธาตุเหล็ก รวมทั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อเรื้อรัง ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือการสร้างจากไขกระดูกผิดปกติ นอกจากนี้ แพทย์จะดูรูปร่างของเม็ดเลือดแดง เพื่อวินิจฉัยแยกโรคต่าง ๆ เช่น ธาลัสซีเมีย หรือภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก บางครั้งอาจปรากฏมาลาเรียอยู่ในเม็ดเลือดด้วย

ตรวจสุขภาพ ด้วย CBC (ความสมบูรณ์เม็ดเลือด)

เซลล์เม็ดเลือดขาว

          ทำหน้าที่ต้านเชื้อโรค โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวจะทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาในร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง แต่มีจำนวนน้อยกว่า เมื่อร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวยังใช้ตรวจหาการติดเชื้อและปฏิกิริยาร่างกายที่ตอบสนองต่อการรักษามะเร็ง

ค่าฮีมาโตคริต (Hematocrit)

          คือสัดส่วนของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่อัดแน่นเทียบกับปริมาตรของเลือดทั้งหมด ค่านี้จะแสดงภาวะโลหิตจางหรือความข้นของเลือด โดยผู้ที่ประสบภาวะช็อค ขาดน้ำอย่างรุนแรง หรือมีจำนวนเม็ดเลือดเพิ่มขึ้น จะมีค่าฮีมาโตคริตสูง ส่วนผู้ที่ประสบภาวะโลหิตจาง ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือด หรือมีเลือดออกรุนแรง จะมีค่าฮีมาโตคริตต่ำ

ตรวจสุขภาพ ด้วย CBC (ความสมบูรณ์เม็ดเลือด)

ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin)

คือโปรตีนที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง การตรวจฮีโมโกลบินจะช่วยวัดจำนวนฮีโมโกลบินที่มีในเลือด รวมทั้งวัดประสิทธิภาพของร่างกายในการลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ผู้ที่มีค่าฮีโมโกลบินลดลง อาจเกิดจากการเสียเลือด ขาดสารอาหาร หรือภาวะโลหิตจาง

เกล็ดเลือด

คือเซลล์เลือดชนิดหนึ่งที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด กล่าวคือ หากร่างกายได้รับบาดเจ็บจนเลือดออก เกล็ดเลือดจะพองและจับตัวกันจนมีลักษณะเหนียว เพื่อช่วยหยุดเลือดที่ไหลออกมา ผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำเกินไปจะห้ามเลือดให้หยุดไหลไม่ได้ ส่วนผู้ที่มีเกล็ดเลือดสูงเกินไปจะเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด

ตรวจสุขภาพ ด้วย CBC (ความสมบูรณ์เม็ดเลือด)

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่ออะไร ?

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดนับเป็นการตรวจเลือดทั่วไป มักใช้ตรวจหาภาวะสุขภาพด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ตรวจสุขภาพโดยรวม ผู้ป่วยบางรายอาจต้องรับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดเป็นประจำ เพื่อดูสุขภาพโดยรวม รวมทั้งตรวจหาโรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ภาวะโลหิตจาง หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • วินิจฉัยปัญหาสุขภาพ ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า มีไข้ บวมอักเสบ มีรอยช้ำ หรือเลือดออก อาจต้องเข้ารับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด โดยวิธีนี้จะช่วยวินิจฉัยสาเหตุของอาการดังกล่าว ทั้งนี้ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดยังยืนยันผลการติดเชื้อในกรณีที่คาดว่าผู้ป่วยรายนั้นได้รับเชื้อบางอย่างเข้าสู่ร่างกาย
  • สังเกตและติดตามปัญหาสุขภาพ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อจำนวนเซลล์เม็ดเลือด จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจนี้ เพื่อสังเกตและติดตามอาการป่วยที่เกิดขึ้น
  • สังเกตและติดตามการรักษาโรค แพทย์จะทำการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแก่ผู้ป่วยที่ใช้ยาซึ่งส่งผลกระทบต่อจำนวนเซลล์เม็ดเลือด
  • ตรวจการตอบสนองของร่างกายต่อการรักษาบางอย่าง ผู้ป่วยบางรายที่เข้ารับการรักษาด้วยยาหรือการฉายรังสี จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เพื่อดูการตอบสนองของร่างกายที่มีต่อการรักษาดังกล่าว
  • ตรวจประเมินร่างกายก่อนผ่าตัด ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เพื่อดูระดับของเลือดว่าสูงหรือต่ำก่อนเข้ารับการผ่าตัด
ตรวจสุขภาพ ด้วย CBC (ความสมบูรณ์เม็ดเลือด)

ผลการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) บอกอะไรได้บ้าง ?

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดจะปรากฏผลการตรวจที่ต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนเซลล์ที่อยู่ในเลือด แพทย์จะวัดผลและวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยจากผลการตรวจดังกล่าว ผู้ที่มีความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในระดับผิดปกติ อาจต้องเข้ารับการตรวจเลือดอีกครั้ง รวมทั้งทำการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยวัดและยืนยันผลการวินิจฉัยที่ได้ ผลการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ผลการตรวจปกติ และผลการตรวจผิดปกติ ซึ่งมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้

  • ผู้ที่มีเซลล์เม็ดเลือดสูงเกินไป
    • ระดับของเซลล์เม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบิน หรือความเข้มของเลือดสูงเกินไป อาจเกิดจาก
      • ขาดน้ำที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เช่น เกิดจากท้องร่วง เหงื่อออกมากเกินไป หรือใช้ยาขับน้ำสำหรับรักษาความดันโลหิตสูง
      • ป่วยเป็นโรคไตที่มีการผลิตฮอร์โมนอิริโธรพออีติน (Erythropoietin) ในปริมาณสูง
      • ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำเป็นเวลานาน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจหรือปอด
      • ประสบภาวะเลือดแดงข้น (Polycythemia Vera)
      • สูบบุหรี่
    • ระดับของเซลล์เม็ดเลือดขาวสูงเกินไป (Leukocytosis) เกิดจาก
      • ใช้ยาบางอย่าง เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์
      • เกิดการติดเชื้อ
      • ป่วยเป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคลูปัสหรือโรคพุ่มพวง (Lupus) ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคภูมิแพ้
      • ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
      • เกิดความเครียดทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง
      • เนื้อเยื่อถูกทำลาย
    • ระดับของเกล็ดเลือดสูงเกินไป อาจเกิดจาก
      • ประสบภาวะเลือดออก
      • ป่วยเป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคมะเร็ง
      • ขาดธาตุเหล็ก
      • มีปัญหาเกี่ยวกับไขกระดูก
  • ผลการตรวจผิดปกติ ผลการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดที่จัดว่าผิดปกตินั้น แบ่งออกเป็นผู้ที่มีเซลล์เม็ดเลือดสูงเกินไป และผู้ที่มีเซลล์เม็ดเลือดต่ำเกินไป ดังนี้
  • ผลการตรวจปกติ จำนวนเซลล์เม็ดเลือดจะมีระดับที่แตกต่างกัน ผู้ที่มีผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ปกติมักมีระดับของจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว ฮีโมโกลบิน ความเข้มของเลือด และจำนวนของเกล็ดเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่สูงหรือต่ำเกินไป ทั้งนี้ ระดับของเซลล์เม็ดเลือดที่ใช้ประเมินความปกติของห้องทดลองแต่ละแห่งอาจต่างกัน เนื่องจากใช้การวัดหรือตัวอย่างในการทดสอบที่ต่างกัน ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลการตรวจที่ได้
  • ผู้ที่มีเซลล์เม็ดเลือดต่ำเกินไป
    • ระดับของเซลล์เม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบิน หรือความเข้มของเลือดต่ำเกินไป อาจเกิดจาก
      • ประสบภาวะเสียเลือด ซึ่งเกิดจากการได้รับบาดเจ็บกะทันหัน หรือมีปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นระยะยาว เช่น ประจำเดือนมามาก
      • ไขกระดูกฝ่อ ซึ่งเกิดจากการฉายรังสี ติดเชื้อ หรือเนื้องอก
      • ประสบภาวะเซลล์เม็ดเลือดแดงแตก (Hemolysis)
      • ป่วยเป็นโรคมะเร็ง รวมทั้งได้รับการรักษาโรคมะเร็ง
      • ป่วยเป็นโรคเรื้อรังบางโรค เช่น โรคไตเรื้อรัง ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง หรือข้ออักเสบรูมาตอยด์
      • ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว
      • ประสบภาวะติดเชื้อระยะยาว เช่น ไวรัสตับอักเสบ
      • ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เช่น ธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี 12 หรือวิตามินบี 6
      • ป่วยเป็นมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลม่า (Multiple Myeloma)
    • ระดับของเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำเกินไป อาจเกิดจาก
      • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งตับถูกทำลาย
      • ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น โรคลูปัสหรือโรคพุ่มพวง
      • ประสบภาวะไขกระดูกฝ่อ ซึ่งอาจเกี่ยวเนื่องกับการติดเชื้อ เนื้องอก การฉายรังสี หรือเกิดพังผืดในร่างกาย
      • ได้รับยาที่ใช้ทำเคมีบำบัดสำหรับรักษาโรคมะเร็ง
      • ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับตับหรือม้าม หรือโรคที่เกี่ยวกับการทำงานของไขกระดูก
      • ประสบภาวะม้ามโต
      • ติดเชื้อที่เกิดจากไวรัส เช่น โรคเอดส์ หรือโรคไข้เลือดออก เป็นต้น
      • ใช้ยาบางอย่าง
    • ระดับเกล็ดเลือดต่ำเกินไป อาจเกิดจาก
      • ประสบภาวะโลหิตจาง
      • ป่วยเป็นโรคที่ส่งผลให้เกล็ดเลือดถูกทำลาย
      • ตั้งครรภ์
      • ประสบภาวะม้ามโต
      • ประสบภาวะไขกระดูกฝ่อ ซึ่งอาจเกี่ยวเนื่องกับการติดเชื้อ เนื้องอก การฉายรังสี หรือเกิดพังผืดในร่างกาย
      • ได้รับยาที่ใช้ทำเคมีบำบัดสำหรับรักษาโรคมะเร็ง

แชร์บทความนี้ :

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดจอง ได้ที่

หรือ

ช่องทาง Online

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกกรุ๊ปเลือดอะไร?
ลูกในท้องกรุ๊ปเลือดอะไร ?
เบาหวานแฝง
เบาหวานแฝง คืออะไร ?
วัณโรค
วัณโรค ร้ายแรงกว่าที่คิด

บทความยอดนิยม

STD
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง?
ตรวจสุขภาพ ด้วย CBC (ความสมบูรณ์เม็ดเลือด)
ตรวจสุขภาพ ด้วย CBC (ความสมบูรณ์เม็ดเลือด)
ตับ สำคัญ อย่างไร?
ตับ สำคัญ อย่างไร?

บริษัท ศูนย์แลบธนบุรี จำกัด

บริการ ตรวจเลือด ตรวจสุขภาพ พร้อมให้คำแนะนำก่อน และหลัง การตรวจวิเคราะห์ โดยมุ่งหวังจะให้บริการตรวจผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ให้กับทางโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน คลินิคการแพทย์ ด้วยมาตรฐาน ISO 15189 : 2022 และ ISO 15190 : 2022

Copyright © 2022 Thonburi Lab Center

สถานที่ตั้ง

628,630 ซ. 60 ถ.พระราม 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150

โทร      :   02-4171923-7 ต่อ 0 หรือ 11

อีเมล   :   tlclab38@hotmail.com

Copyright © 2022 Thonburi Lab Center

You cannot copy content of this page