ใครเสี่ยงเป็น? มะเร็งลำไส้

              มะเร็งลำไส้ (Colorectal cancer) เป็นมะเร็งที่พบเป็นลำดับที่ 4 ในสหรัฐอเมริกา และในปี 2016 ประมาณการว่าพบผู้ป่วยใหม่ ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ 95,270 ราย/ปี และลำไส้ตรง 39,220 ราย/ปี และในปีเดียวกันพบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตถึง 49,190 ราย จากมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง

             สำหรับประเทศไทย มะเร็งลำไส้ อุบัติการณ์ของการเกิด มะเร็งลำไส้มากเป็นลำดับที่ 4 เช่นกัน หรือพบผู้ป่วยรายใหม่ 11,496 ราย/ปี อัตราการเสียชีวิต 6,845 ราย/ปี รองจาก มะเร็งตับ, มะเร็งปอด และ มะเร็งเต้านม, ตามลำดับ ซึ่งอัตราการตายในมะเร็งลำไส้นั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อมีการตรวจคัดกรองและป้องกันการเกิดด้วยการตัดติ่งเนื้อ(Polypectomy)ตั้งแต่อาการเริ่มแรกของตัวโรคเริ่มเกิดขึ้น ดังนั้น การทราบถึงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค จึงเป็นประโยชน์ ในการที่ทราบถึงกลุ่มเสี่ยง แง่ของการตรวจคัดกรองในกลุ่มต่าง ๆ อีกด้วย

ได้แบ่งกลุ่มเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงที่ต่างกันโดยปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวมีดังต่อไปนี้

1. ปัจจัยความเสี่ยงจากตัวบุคคล (Non-modifiable risk factors)

- ปัจจัยทางด้านอายุ (Age)

  พบว่าอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในอายุมากกว่า 50 ปี โดย ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้มากกว่า ร้อยละ 90 มีอายุมากกว่า 50 ปี และยิ่งในช่วงอายุ 60-79 ปีพบว่า มีโอกาสเสี่ยงมากถึง 50 เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มคนอายุน้อยกว่า 40 ปี แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน พบผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ ในกลุ่มคนอายุ 20-49 ปี เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

- ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม (Inherited Genetic Risk)

    ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 5-10 ของมะเร็งลำไส้เป็นผู้ป่วยที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้แก่ Familial adenomatous polyposis (FAP), Hereditary nonpolyposis colorectal cancer (HNPCC) หรือ Lynch syndromeในผู้ป่วย FAP ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1 ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ทั้งหมด

ใครเสี่ยงเป็น? มะเร็งลำไส้

2. ปัจจัยความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม (Environmental risk factors)

             มะเร็งลำไส้ มี ความเสี่ยงหลายปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่นมีการเก็บข้อมูลของผู้ย้ายถิ่นฐานจากประเทศที่ มีอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ต่ำไปยังประเทศที่มีอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้สูง พบว่า อัตราการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้นตามกลุ่มคนที่อยู่ในประเทศนั้นด้วย ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมต่างมีดังต่อไปนี้

- อาหาร (Nutritional Practices)

          อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญหนึ่งในการเกิดมะเร็งลำไส้ การกินอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ เป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ โดยการ degrade ตัว bile salt ด้วย แบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ องค์ประกอบของ N-nitroso compound การบริโภคเนื้อสัตว์ สัตว์เนื้อแดง ในปริมาณสูง เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ โดยการ ย่อยสลาย Heme iron ในเนื้อแดง

- การออกกำลังกายและน้ำหนักเกิน (Physical activity and obesity)

          มีรายงาน การออกกำลังกายและน้ำหนักมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของ มะเร็งลำไส้ เมื่อออกกำลังกายและการเพิ่ม Metabolic rate จะส่งผลให้ ลำไส้มีการทำงานมากขึ้น เคลื่อนตัวมากขึ้น มีการเพิ่มการใช้งาน ออกซิเจน  ผลในระยะยาวจะทำให้ ความดันในร่ายกายลดลง insulin resistant ลดลง และ ยังส่งผลในเรื่องของน้ำหนักตัวที่ลดลงด้วย

- การสูบบุหรี่ (Cigarette smoking)

         ความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่ กับ มะเร็งปอด นั้นมีรายงานออกมาชัดเจน และ ในส่วนของมะเร็งลำไส้นั้นพบว่า ร้อยละ 12 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้นั้นสูบบุหรี่ พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดและเจริญเติบโตขึ้นของ Adenomatous polyp การสูบบุหรี่ในระยะยาวพบว่า มีความสัมพันธ์กับ Adenomatous polyp ขนาดใหญ่

- การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ (Heavy alcohol consumption)

          การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้เช่นกันกับการสูบบุหรี่ ผลลัพท์ที่ได้จากการย่อยสลาย แอลกอฮอล์ คือ Acetaldehyde ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งตัวหนึ่ง ซึ่งการบริโภคแอลกอฮอล์ร่วมกับการสูบบุหรี่ จะมีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งมากขึ้น

ใครเสี่ยงเป็น? มะเร็งลำไส้

แชร์บทความนี้ :

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดจอง ได้ที่

หรือ

ช่องทาง Online

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกกรุ๊ปเลือดอะไร?
ลูกในท้องกรุ๊ปเลือดอะไร ?
เบาหวานแฝง
เบาหวานแฝง คืออะไร ?
วัณโรค
วัณโรค ร้ายแรงกว่าที่คิด

บทความยอดนิยม

STD
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง?
ตรวจสุขภาพ ด้วย CBC (ความสมบูรณ์เม็ดเลือด)
ตรวจสุขภาพ ด้วย CBC (ความสมบูรณ์เม็ดเลือด)
ตับ สำคัญ อย่างไร?
ตับ สำคัญ อย่างไร?

บริษัท ศูนย์แลบธนบุรี จำกัด

บริการ ตรวจเลือด ตรวจสุขภาพ พร้อมให้คำแนะนำก่อน และหลัง การตรวจวิเคราะห์ โดยมุ่งหวังจะให้บริการตรวจผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ให้กับทางโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน คลินิคการแพทย์ ด้วยมาตรฐาน ISO 15189 : 2022 และ ISO 15190 : 2022

Copyright © 2022 Thonburi Lab Center

สถานที่ตั้ง

628,630 ซ. 60 ถ.พระราม 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150

โทร      :   02-4171923-7 ต่อ 0 หรือ 11

อีเมล   :   tlclab38@hotmail.com

Copyright © 2022 Thonburi Lab Center

You cannot copy content of this page