hs-CRP กับ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่ำคัญอันดับต้นๆถึงแม้ว่าจะช่วยชีวิตให้รอดได้แต่ต้องได้รับการดูแลที่มีค่าใช้จ่ายสูงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการทราบความเสี่ยงล่วงหน้าและเตรียมตัวป้องกันก่อนหัวใจขาดเลือดจึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดของท่าน

 
hs-CRP กับ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

สาเหตุและอาการ

สาเหตุหนึ่งเกิดจากที่มีไขมันเกาะผนังหลอดเลือดหรือมีการกระตุ้นกลไกสร้างลิ่มเลือดเพิ่มขึ้นทำให้ขัดขวางการไหลของเลือด ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย การเต้นของหัวใจผิดจังหวะอย่างรุนแรงนำไปสู่การเสียชีวิตโดยกระทันหัน

hs-CRP กับ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

hs-CRP (High-sensitivity C-reactive protein) คืออะไร?

C-reactive protein หรือ CRP ค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1930 เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างมาจากตับ ในเวลาที่เกิดการอักเสบหรือการทำลายของเนื้อเยื่อภายในร่างกายในปัจจุบันมีการวัดแบบความไวสูง หรือที่เรียกว่า hs-CRP(High-sensitivity C-reactive protein) ซึ่งสามารถวัดค่า CRP ได้ต่ำถึง 0.1 mg/L ซึ่งมีประโยชน์ในการนำมาใช้ประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจตีบดังนี้

 
  1. การผ่าตัดนำหลอดเลือดดำที่ขาหรือหลอดเลือดแดงที่ผนังหน้าอกมาตัดต่อกับหลอดเลือดหัวใจที่อุดตัน หรือที่เรียกว่า “การทำบายพาส”
  2. การใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงการใส่ขดลวดในหลอดเลือดหัวใจ
  3. การรักษาด้วยยา

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ข้อแนะนำการตรวจ hs-CRP เพื่อตรวจสุขภาพหัวใจ

  1. ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร
  2. แนะนำให้ตรวจ 2 ครั้งห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย จะได้ค่าที่แน่นอนและผิดพลาดน้อยกว่าการวัดครั้งเดียว (CDC/AHA Recommendation)
  3. การตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอย่างสมบูรณ์ควรตรวจร่วมกับไขมันโคเลสเดอรอล, ไขมันไตรกลีเซอไรด์,ไขมัน : HDL, ไขมันไม่ดี : LDL (Lipid Profile)
  4. ในบุคคลสุขภาพดีต้องการเปิดประเมินความเสี่ยงในช่วงที่ตรวจเลือด ไม่ควรปวดข้อ ปวดเข่า มีโรคเกาต์ ไม่ฟกช้ำ ไม่เป็นหวัด ไม่มีอาการท้องเสีย
  5. ผู้ที่ได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบควรได้รับการตรวจเป็นประจำตามคำแนะนำของแพทย์ที่รักษา

แชร์บทความนี้ :

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดจอง ได้ที่

หรือ

ช่องทาง Online

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกกรุ๊ปเลือดอะไร?
ลูกในท้องกรุ๊ปเลือดอะไร ?
เบาหวานแฝง
เบาหวานแฝง คืออะไร ?
วัณโรค
วัณโรค ร้ายแรงกว่าที่คิด

บทความยอดนิยม

STD
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง?
ตรวจสุขภาพ ด้วย CBC (ความสมบูรณ์เม็ดเลือด)
ตรวจสุขภาพ ด้วย CBC (ความสมบูรณ์เม็ดเลือด)
ตับ สำคัญ อย่างไร?
ตับ สำคัญ อย่างไร?

บริษัท ศูนย์แลบธนบุรี จำกัด

บริการ ตรวจเลือด ตรวจสุขภาพ พร้อมให้คำแนะนำก่อน และหลัง การตรวจวิเคราะห์ โดยมุ่งหวังจะให้บริการตรวจผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ให้กับทางโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน คลินิคการแพทย์ ด้วยมาตรฐาน ISO 15189 : 2022 และ ISO 15190 : 2022

Copyright © 2022 Thonburi Lab Center

สถานที่ตั้ง

628,630 ซ. 60 ถ.พระราม 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150

โทร      :   02-4171923-7 ต่อ 0 หรือ 11

อีเมล   :   tlclab38@hotmail.com

Copyright © 2022 Thonburi Lab Center

You cannot copy content of this page